วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แผนการสอนที่3

คำอธิบาย: คำอธิบาย: 118263578 copy
 


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3


 


รายวิชาพื้นฐาน ภาษาอังกฤษ                                                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5     Unit 3  Weather                                                                                                                               เวลา 4 ชั่วโมง

   1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
   
มาตรฐาน ต 1.1 ม.5/1  ปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือการใช้งานต่างๆ คำชี้แจง คำอธิบาย และคำบรรยายที่ฟังและอ่าน
มาตรฐาน ต 1.1 ม.5/2  อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ โฆษณา บทร้อยกรอง และบทละครสั้น (skit) ถูกต้องตามหลักการอ่าน
มาตรฐาน ต 1.1 ม.5/4  จับใจความสำคัญ  วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการฟังและอ่านเรื่องที่เป็นสารคดี และบันเทิงคดี พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐาน ต 1.2 ม.5/4  พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง/ประเด็น/ข่าว/เหตุการณ์ที่ฟังและอ่านอย่างเหมาะสม
มาตรฐาน ต 1.2 ม.5/5  พูดและเขียนบรรยายความรู้สึกและแสดงความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ กิจกรรม ประสบการณ์ และข่าว/เหตุการณ์อย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต 2.1 ม.5/1  เลือกใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับระดับของบุคคล โอกาส และสถานที่  ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา  
มาตรฐาน ต 2.2 ม.5/1  อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค ข้อความ สำนวน คำพังเพย สุภาษิต และบทกลอนของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย
มาตรฐาน ต 2.2 ม.5/2  วิเคราะห์/อภิปรายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิต ความเชื่อ และ วัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย และนำไปใช้อย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต 4.1 ม.5/1  ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลอง ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน สถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต 4.2 ม.5/1  ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปความรู้/ข้อมูลต่างๆ จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
มาตรฐาน ต 4.2 ม.5/2  เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น/ประเทศชาติ เป็นภาษาต่างประเทศ

   2. เป้าหมายการเรียนรู้/ความเข้าใจที่คงทน (Learning Outcomes / Enduring Understanding)

       2.1   พูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของสิ่งต่างๆ และเรียงลำดับความสำคัญได้
2.2   เขียนเรียงความแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่กำหนดให้ได้

   3.      สิ่งที่ต้องรู้และปฏิบัติได้ (Important to know and to do)

3.1   ออกเสียง สะกด บอกความหมายของคำศัพท์/วลีเกี่ยวกับสภาพอากาศ และนำไปใช้ได้ถูกต้อง                            
3.2   พูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพอากาศที่มีผลต่ออารมณ์/ความรู้สึกของมนุษย์ได้
3.3   อ่านบทความเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศและย่อหน้าที่ขาดหายไปแล้วจับใจความสำคัญ ตอบคำถาม และนำย่อหน้าที่ขาดไปมาเติมในบทความได้ถูกต้อง
3.4   เลือกคำศัพท์ที่สัมพันธ์กับหัวข้อได้ถูกต้อง
3.5   นำคำจากบทความที่อ่านซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนรูป (derivative) ของคำที่กำหนดให้มาเติมลงในประโยคได้ถูกต้อง
3.7   ศึกษาตัวอย่างและโครงสร้างประโยค passive แล้วตอบคำถาม สรุปหลักการใช้ เลือกประโยคactive/passive และเปลี่ยนประโยค active เป็น passive ได้ถูกต้อง
3.8   ฟังบทสนทนาเกี่ยวกับสภาพอากาศแล้วบอกหัวเรื่องได้ถูกต้อง
3.9   สรุปหลักการใช้คำคุณศัพท์ (adjective) ที่ลงท้ายด้วย -ing และ -ed และนำไปใช้เติมประโยคได้ถูกต้อง
3.10 อ่านตัวอย่างเรื่องเกี่ยวกับสภาพอากาศที่มีผลต่ออารมณ์/ความรู้สึกแล้วสรุปเป็นโครงเรื่องได้  
        
   4.                                                                                    สิ่งที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ (Worth being familiar with)

       เรื่องเกี่ยวกับสภาพอากาศและผลที่มีต่อสิ่งต่างๆ  

   5.      คำถามสำคัญ (Essential Questions)

5.1   Do you listen to weather forecasts? Why?/Why not?
5.2   Can you do a weather forecast observing the environment around you? How?
5.3   Many people believe that weather can affect how they feel but you want to write to them that you do not agree. How will you organize your opinion outline?
a.  How will you introduce the subject of discussion? And how will you say that people have different ideas about this?
b.  What is your opinion about this? Give at least two factual examples to support your points.
c.   What question will you ask to close your paragraphs?

   6.                                                        สิ่งที่นักเรียนต้องได้รับการพัฒนา
                            
         6.1    ทักษะกระบวนการ
                   - กระบวนการกลุ่ม            
              - กระบวนการคิด          
              - กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
         6.2    คุณลักษณะอันพึงประสงค์
              - ซื่อสัตย์สุจริต
              - มีวินัย
              - ใฝ่เรียนรู้
              - อยู่อย่างพอเพียง
              - มุ่งมั่นในการทำงาน
       6.3   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                   - ความสามารถในการสื่อสาร (Communication Capacity)
              - ความสามารถในการคิด (Thinking Capacity)
              - ความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem-Solving Capacity)
              - ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต (Capacity for Applying Life Skills)
              - ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (Capacity for Technological Application)

   7. ผลงานที่ได้จากการเรียนรู้และปฏิบัติ

7.1   การพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของสิ่งต่างๆ และเรียงลำดับความสำคัญ
7.2   ผลงานเขียนเรียงความแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่กำหนดให้  

   8.      การวัดและประเมินผล (Evaluation)
             

สิ่งที่ต้องการวัดและประเมิน

 

วิธีการวัด

และประเมิน


เครื่องมือวัด
และประเมิน

เกณฑ์การวัด
และประเมิน

ความรู้และทักษะด้านคำศัพท์

สิ่งที่ต้องรู้และปฏิบัติได้

3.1  ออกเสียง สะกด บอกความหมายของ
      คำศัพท์/วลีเกี่ยวกับสภาพอากาศ และนำ
      ไปใช้ได้ถูกต้อง


ตรวจสอบอย่าง
ไม่เป็นทางการ



กิจกรรม A, D, E

 


ปฏิบัติได้ในระดับดี-ดีมาก
3.2  พูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพอากาศ
      ที่มีผลต่ออารมณ์/ความรู้สึกของมนุษย์ได้
การให้โจทย์หรือประเด็นปัญหาที่ให้นักเรียนขบคิด
กิจกรรม A
ปฏิบัติได้ในระดับดี-ดีมาก
3.4  เลือกคำศัพท์ที่สัมพันธ์กับหัวข้อได้ถูกต้อง
สังเกต/พูดคุย
กิจกรรม D
ปฏิบัติได้ในระดับดี-ดีมาก



สิ่งที่ต้องการวัดและประเมิน

 

วิธีการวัด

และประเมิน


เครื่องมือวัด
และประเมิน

เกณฑ์การวัด
และประเมิน

ความรู้และทักษะด้านคำศัพท์ (ต่อ)

สิ่งที่ต้องรู้และปฏิบัติได้

3.5  นำคำจากบทความที่อ่านซึ่งเกิดจากการ
      เปลี่ยนรูป (derivative) ของคำที่กำหนดให้
      มาเติมลงในประโยคได้ถูกต้อง


ทดสอบย่อย


กิจกรรม E


ตอบถูก 5 ข้อจาก 6 ข้อ
ความสามารถและทักษะการอ่าน
สิ่งที่ต้องรู้และปฏิบัติได้
3.3  อ่านบทความเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ
      และย่อหน้าที่ขาดหายไปแล้วจับใจความ
      สำคัญ ตอบคำถาม และนำย่อหน้าที่ขาดไป
      มาเติมในบทความได้ถูกต้อง


ตรวจสอบอย่าง
ไม่เป็นทางการ


กิจกรรม B, C



ปฏิบัติได้ในระดับดี-ดีมาก
ความรู้และทักษะทางไวยากรณ์
สิ่งที่ต้องรู้และปฏิบัติได้
3.7  ศึกษาตัวอย่างและโครงสร้างประโยค
      passive แล้วตอบคำถาม สรุปหลักการใช้
      เลือกประโยค active/passive และเปลี่ยน
      ประโยค active เป็น passive ได้ถูกต้อง


- ตรวจสอบอย่าง
  ไม่เป็นทางการ
- ทดสอบย่อย


- กรอบ Grammar
  Link
- กิจกรรม F

- กิจกรรม G



 


- ปฏิบัติได้ใน
  ระดับดี-ดีมาก
- ตอบถูก 8 ข้อ  
  จาก 10 ข้อ
- ตอบถูก 5 ข้อ  
  จาก 6 ข้อ

3.9  สรุปหลักการใช้คำคุณศัพท์ (adjective) ที่
      ลงท้ายด้วย -ing และ -ed และนำไปใช้เติม
      ประโยคได้ถูกต้อง
- ตรวจสอบอย่าง
  ไม่เป็นทางการ
- ทดสอบย่อย
- กรอบ Grammar
  Link
- กิจกรรม J

- ปฏิบัติได้ใน
  ระดับดี-ดีมาก
- ตอบถูก 4 ข้อ  
  จาก 5 ข้อ
ความสามารถและทักษะการฟัง
สิ่งที่ต้องรู้และปฏิบัติได้
3.8  ฟังบทสนทนาเกี่ยวกับสภาพอากาศแล้ว
      บอกหัวเรื่องได้ถูกต้อง


ทดสอบย่อย


กิจกรรม H


ตอบถูกทุกข้อ



สิ่งที่ต้องการวัดและประเมิน

วิธีการวัด
และประเมิน

เครื่องมือวัด
และประเมิน

เกณฑ์การวัด
และประเมิน
ความสามารถและทักษะการเขียน
สิ่งที่ต้องรู้และปฏิบัติได้
3.9  อ่านตัวอย่างเรื่องเกี่ยวกับสภาพอากาศที่มี
      ผลต่ออารมณ์/ความรู้สึกแล้วสรุปเป็นโครง
      เรื่องได้


สังเกต/พูดคุย


กิจกรรม K


ปฏิบัติได้ในระดับดี-ดีมาก
สิ่งที่นักเรียนได้รับการพัฒนา
- เจตคติต่อการเรียนรู้
- ทักษะกระบวนการ
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
สังเกต สอบถาม และบันทึกขณะนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ การนำเสนอทั้งการพูดและการเขียน
แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้
แสดงออกถึงการพัฒนาในระดับดี-ดีมาก
เป้าหมายการเรียนรู้



ความสามารถและทักษะการพูด
- พูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ของ
  สิ่งต่างๆ และเรียงลำดับความสำคัญได้



ลงมือปฏิบัติ/โครงงาน

- กิจกรรม I

- แบบประเมิน
  การพูด

- ปฏิบัติได้ใน
  ระดับดี-ดีมาก
- คะแนนเมื่อ
  เทียบกับเกณฑ์
ความสามารถและทักษะการเขียน
- เขียนเรียงความแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่
  กำหนดให้ได้



ลงมือปฏิบัติ/โครงงาน

- กิจกรรม L

- แบบประเมิน
  การเขียน

- ปฏิบัติได้ใน
  ระดับดี-ดีมาก
- คะแนนเมื่อ
  เทียบกับเกณฑ์

   9. สาระการเรียนรู้

         9.1    คำศัพท์ (Vocabulary)
- accurate (adj)          correct and true in every detail (แม่นยำ, เที่ยงตรง)
- anemometer (n)       an instrument for measuring the speed and force of the wind (เครื่องมือวัดความเร็วลม)
- approach (n)           a method of considering, doing, or dealing with somebody/something (วิธีการ)
- atmosphere (n)        the layer of air or other gases around it / the air that you breathe at a place place (ชั้นบรรยากาศ, อากาศรอบๆ ตัวเรา)
- depressed (adj)       very unhappy/sad and without hope (ซึมเศร้า, หดหู่, หมดหวัง)
- depression (n)         the state of feeling very sad and without hope (ภาวะซึมเศร้า, หดหู่)
- disaster (n)             a very bad accident such as an earthquake or a plane crash, especially one in which a lot of people are killed (ภัยพิบัติ อาจเป็นภัยโดยธรรมชาติ หรือเป็นอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่คร่าชีวิตผู้คนไปมาก)
- front (n) (cold/warn front) the place where two masses of air which have different temperatures meet, often shown as a line on weather maps (แนวปะทะอากาศ คือเมื่อมวลอากาศ 2 มวลเคลื่อนตัวมาพบกัน อากาศของมวลทั้งสองจะไม่ปนกันทันที แต่จะก่อให้เกิดแนวหรือขอบเขตระหว่างมวลอากาศทั้งสอง มวลอากาศเย็นซึ่งมีความแน่นมากกว่า และหนักมากกว่ามวลอากาศร้อนจะผลักดันอากาศร้อนให้ลอยขึ้น ทำให้เกิดเป็นเมฆต่างๆ เกิดพายุฝนฟ้าคะนองตามที่แนวหรือขอบเขตที่มวลอากาศทั้งสองมาพบกัน ซึ่งเรียกแนวนี้ว่า แนวปะทะอากาศ ที่อาจจะมีเขตกว้าง 20 ถึง 40 กิโลเมตร แนวปะทะอากาศเป็นสาเหตุใหญ่อย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของอากาศ เช่น เมฆ ฝน และพายุได้เสมอ แนวปะทะแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น แนวปะทะอากาศเย็นหรือ cold front แนวปะทะอากาศร้อนหรือ warm front เป็นต้น
- gale-force (adj)        a gale force wind is very strong and dangerous, and often causes damage to buildings, trees, etc. (ลมแรงจัด ซึ่งทำให้เกิดอันตรายและความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนได้)
- humid (adj)             hot and wet in a way that makes you feel uncomfortable (ร้อนชื้น)
- meteorologist (n)     a scientist who studies the processes in the earth's atmosphere and has the expertise to predict the weather (นักอุตุนิยมวิทยา ซึ่งถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ส่วนผู้ที่มารายการหรือพยากรณ์สภาพอากาศทุกวันทางโทรทัศน์หรือวิทยุโดยอิงข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา เรียกว่า weatherman)
- pressure (n)            atmospheric pressure (ความกดอากาศ)
- recall (v)                 to remember something (จำได้, ระลึกได้)
- restless (adj)           not willing or able to stay still where you are, because you are bored, nervous, or need a change (ไม่อยู่นิ่ง, กระวนกระวาย)
- stable (adj)             firmly fixed or not likely to move or change (มั่นคง)
- torrential (adj)         pouring very rapidly and in great quantities (หนัก, รุนแรง, เชี่ยวกราก ใช้กับฝนหรือน้ำที่ท่วม)

         9.2    การออกเสียง (Pronunciation)
1.     การออกเสียงและการเน้นเสียงหนัก (stress) ในคำว่า
                 accurate /ˈækjərət/       atmosphere /ˈætməsfɪr/       disaster /dɪˈzæstər/
                 torrential /təˈrenʃl/        meteorologist /ˌmiːtiəˈrɑːlədʒɪst/ 
2.  การออกเสียง -s ที่เติมท้ายคำนามและคำกริยา ซึ่งสามารถออกเสียงเป็น /s/, /z/, /ɪz/ ได้ โดยฝึกการออกเสียงคำต่อไปนี้
  /s/                                 /z/                             /ɪz/
          parts                              years                           surprises                                    physics                           floods                                 reaches

         9.3    โครงสร้างทางไวยากรณ์ (Grammar)
  - Passive
  - Adjectives ending in -ing/-ed

         9.4    หน้าที่ทางภาษา (Functions of the Language)
   -  Exchanging and expressing opinions in order to prioritize
  - Giving your opinion in writing

         9.5    วัฒนธรรม (Culture)
ให้นักเรียนลองคิดดูว่า เหตุใดบางพื้นที่จึงมีอากาศร้อนหรือหนาวรุนแรง ในบทนี้นอกจากนักเรียนจะได้เรียนรู้คำศัพท์แล้ว ยังจะได้เรียนรู้หลักการง่ายๆ ในการพยากรณ์อากาศที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ลักษณะการเปลี่ยนแปลง/ผันผวนของสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ในทวีปต่างๆ สัมพันธ์โดยตรงกับระยะห่างจากทะเล และความสูงเหนือระดับน้ำทะเลของพื้นที่นั้นๆ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับความใกล้หรือไกลจากเส้นศูนย์สูตรหรือ equator (เส้นรอบวงของโลก)ในโลกของเรามีเขตภูมิอากาศหลัก 7 เขต ดังต่อไปนี้
            เขตหนาว
เขตภูมิอากาศหนาวจะมีอุณหภูมิที่ต่ำมากเนื่องจากอยู่ใกล้เขตขั้วโลก ในแถบนี้จะอุดมไป
            ด้วยป่าไม้ เช่น ในทวีปยุโรปตอนเหนือ อเมริกาเหนือ และประเทศรัสเซีย
                เขตทะเลทราย
ตรงข้ามกับความเชื่อที่ว่า ไม่มีฝนตกในทะเลทราย ภูมิประเทศลักษณะนี้มีฝนตกบ้าง เพียงแต่ในปริมาณที่น้อยเนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรแต่ห่างไกลจากทะเล บริเวณทะเลทรายจะแห้งแล้งจัดช่วงกลางวันมีแดดแรง อากาศร้อนจัด ส่วนกลางคืนมีอุณหภูมิต่ำ
                เขตมรสุม
ตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดีย ลมที่พัดมาจากทะเลทำให้เกิดฝนตกหนักหรือที่เราเรียกว่ามรสุมในประเทศเหล่านี้เมื่อลมพัดออกจากแผ่นดินไปยังทะเล อากาศจะร้อนและค่อนข้างแห้งแล้ง
                เขตเทือกเขาสูง
ยิ่งสูงอากาศก็ยิ่งหนาว ดังนั้นจะเห็นว่า แม้ในเขตร้อนที่สุดของโลก เช่น ตรงบริเวณเส้นศูนย์สูตร บนยอดเขาสูงก็ยังมีหิมะให้เห็น
            เขตขั้วโลก
ในเขตนี้มีอากาศเย็นจัดที่สุดเท่าที่โลกเคยบันทึก แหล่งน้ำกลายเป็นน้ำแข็งและคงอยู่เช่นนั้น
            เกือบตลอดทั้งปี มีบางพื้นที่เท่านั้นที่น้ำแข็งละลายเป็นบางช่วงของปี ทำให้เกิดภูเขาน้ำแข็งในธารน้ำดังเช่นที่เราเห็นกันในสารคดี
                เขตอบอุ่น
ในเขตอากาศอบอุ่น ตลอดปีอากาศจะไม่หนาวจัดหรือร้อนจัด ในฤดูหนาวอากาศจะชื้น ส่วน
            ฤดูร้อนอากาศมักร้อนและแห้ง
                เขตร้อน
พื้นที่ดังเช่นทวีปแอฟริกากลางและแอฟริกาใต้ถือเป็นเขตร้อน ซึ่งมีอากาศร้อนจัด อุดมด้วย   ป่าไม้และทุ่งหญ้า 

         9.6    กลวิธีการเรียนรู้ (Learning Strategies)
                 - Reading for details
             - Listening for general idea       

      9.7    ความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
             - กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
             - กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

  10. สื่อและแหล่งเรียนรู้
                       
       10.1 หนังสือเรียน BRIDGE Student Book 5 Unit 3
       10.2 หนังสือแบบฝึกหัด BRIDGE Workbook 5 Unit 3
       10.3 ซีดีบันทึกเสียง Audio CD BRIDGE 5 Unit 3
       10.4 พจนานุกรมอังกฤษ - อังกฤษ
       10.5 เว็บไซต์ www.tmd.go.th (กรมอุตุนิยมวิทยา)

  11. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
             
       11.1  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm up)
- ครูพูดคุยเรื่องสภาพอากาศของประเทศต่างๆ กับนักเรียนทั้งชั้นพร้อมทั้งชูภาพประกอบที่เตรียมไว้ แล้วถามนักเรียนว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรถ้านักเรียนต้องอยู่ในสภาพอากาศนั้นๆ
                   Learning Link
                             ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้โดยให้นักเรียนทุกคนอ่านกรอบ Learning Link หน้า 17 เพื่อ
              ให้ทราบว่านักเรียนต้องรู้และปฏิบัติอะไรได้บ้างใน Unit 3 ดังนี้
              - คำและวลีที่ใช้พูดคุยเกี่ยวกับสภาพอากาศ
  - อภิปรายเกี่ยวกับประโยชน์ของสิ่งของต่างๆ และเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งของแต่ละชนิด
  - เขียนเรียงความแสดงความคิดเห็น
- ใช้โครงสร้างประโยค passive (คำกริยา to be + คำกริยาช่อง 3) และคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -ing หรือ -ed
A   Some say that when the weather changes, people change their mood. Use the words given to say how weather conditions can make people feel.
- ครูซักถามนักเรียนทั้งชั้นว่า นักเรียนเคยได้ยินอาการป่วยที่เรียกว่า SAD หรือ Seasonal Affected Disorder บ้างหรือไม่ แล้วอธิบายให้นักเรียนฟังว่า อาการของโรคนี้มักเกิดขึ้นกับบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบทางเหนือ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าและหดหู่เนื่องจากได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ
- ครูถามนักเรียนว่า สภาพอากาศมีอิทธิพลต่อสภาวะทางอารมณ์ของนักเรียนบ้างหรือไม่ ตัวอย่างเช่น นักเรียนจะรู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่ท่ามกลางแสงแดดจัด หรือนักเรียนจะรู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่ท่ามกลางสายหมอกบางๆ เป็นต้น ให้นักเรียนแต่ละคนพูดบรรยายอารมณ์ของตนเองขณะอยู่ในสภาพอากาศต่างๆ ในกิจกรรมข้อ A แล้วจับคู่คำศัพท์เกี่ยวกับอารมณ์กับคำศัพท์หรือวลีเกี่ยวกับสภาพอากาศให้สัมพันธ์กัน พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ ครูบอกนักเรียนว่า กิจกรรมนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด เพราะเป็นความคิดเห็นของนักเรียนแต่ละคน เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ครูสุ่มเรียกนักเรียนบางคนบอกคำตอบและเหตุผลที่ตอบเช่นนั้น

         11.2  ขั้นนำเสนอความรู้ (Presentation)
              Reading Link
B   Read the article and missing paragraphs in task C quickly to find out what effect a cloudy sky at night will have on the following day’s temperature.
- ครูสอนคำศัพท์ยากจากบทความในกิจกรรมข้อ B โดยเขียนตัวอย่างประโยคอธิบายความหมายของคำศัพท์บนกระดานดังนี้
  “meteorologist” -    A meteorologist studies the earth's atmosphere and its changes.
  “atmosphere” - The atmosphere is the mixture of gases that surrounds the earth. 
  “pressure” - Check the tire pressure (=the amount of air in a tire) regulary.
  “disaster” - The disaster is an unexpected event such as a very bad accident, a flood or a fire that kills a lot of people or causes a lot of damage.
  “torrential” - Torrential is the rain falling in large amounts.
แล้วบอกให้นักเรียนทุกคนลองทำแบบฝึกหัดคำศัพท์ด้านล่างให้ถูกต้อง  
   Exercise: Put the correct words.
1.  high_______
2.  __________ rains
3.  humid_________
4.  careful_________
5.  natural_________
  คำตอบ
1. pressure     2. torrential     3. atmosphere      4. meteorologist       5. disaster
- ครูอาจให้นักเรียนลองเดาความหมายภาษาไทยของคำศัพท์แต่ละคำ หรืออาจให้นักเรียนเปิดพจนานุกรมค้นหาความหมายภาษาไทยด้วยตนเอง แล้วบอกให้นักเรียนจดคำศัพท์ลงในสมุดเพื่อใช้ทบทวนต่อไป
-    ให้นักเรียนทุกคนอ่านบทความในกิจกรรมข้อ B ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วตอบคำถาม เพื่อค้นหาว่านักเรียนคนใดสามารถตอบคำถามได้เร็วที่สุดและถูกต้องเป็นคนแรก เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ครูตรวจคำตอบพร้อมกับนักเรียนทั้งชั้น (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
C   Put paragraphs A-E in the correct place in the article.
- ก่อนที่นักเรียนทุกคนจะเริ่มทำกิจกรรมข้อ C ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า นักเรียนได้เคยทำกิจกรรมลักษณะเช่นนี้มาแล้วในหนังสือเรียน Bridge 4 ซึ่งในครั้งนั้นนักเรียนต้องมองหาประโยคที่หายไปเติมลงในบทความให้ได้ใจความสมบูรณ์ แต่ในครั้งนี้นักเรียนจะต้องมองหาย่อหน้าที่หายไปเติมลงในบทความให้ได้ใจความสมบูรณ์แทน
- ให้นักเรียนทุกคนอ่านกรอบ Hints หน้า 19 ซึ่งแนะนำให้นักเรียนมองหาคำศัพท์หรือวลีในตอนต้นและตอนท้ายของย่อหน้าแต่ละย่อหน้าในบทความกิจกรรมข้อ B เพื่อช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงย่อหน้าข้อ A - E ในกิจกรรมข้อ C กับย่อหน้าในบทความกิจกรรมข้อ B
- ให้นักเรียนแต่ละคนเลือกย่อหน้าที่หายไปเติมลงในบทความให้ถูกต้อง พร้อมทั้งระบุคำสำคัญที่ทำให้นักเรียนเลือกคำตอบนั้น เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ครูสุ่มเรียกนักเรียนบางคนบอกคำตอบของตนเอง แล้วจึงเฉลยคำตอบและคำสำคัญที่ถูกต้องพร้อมกับนักเรียนทั้งชั้น (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)

Classroom language:
 T: In the previous section you had to find the missing sentences. Now you are looking for the missing paragraphs. You can read and understand the hints before you try to do the task C in order to help you link the missing paragraph. Then, write words or phrases to justify your answer.

                   Vocabulary Link
D   Circle the two words in each box that are linked to the heading.
- ให้นักเรียนทุกคนศึกษาหัวเรื่องและคำศัพท์ในตารางกิจกรรมข้อ D แล้วเลือกวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ 2 คำที่เชื่อมโยงกับหัวเรื่องแต่ละหัวเรื่องให้ถูกต้อง เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ครูขอนักเรียนอาสาสมัครบอกคำตอบของตนเอง แล้วจึงตรวจคำตอบพร้อมกับนักเรียนทั้งชั้น (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
- ครูแบ่งนักเรียนทั้งชั้นเป็น 6 กลุ่ม แล้วมอบหมายหัวเรื่องในกิจกรรมข้อ D 1 หัวเรื่องให้กับนักเรียนแต่ละกลุ่ม ให้นักเรียนเขียนแผนผังคำศัพท์ (word map) โดยเริ่มต้นเขียนแผนผังคำศัพท์ด้วยคำตอบ 2 คำตอบของ   แต่ละหัวเรื่อง แล้วจึงเขียนคำศัพท์ที่เชื่อมโยงกับหัวเรื่องนั้นเพิ่มเติม นักเรียนกลุ่มใดเขียนคำศัพท์ได้ถูกต้องและมากที่สุดถือเป็นผู้ชนะ เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเขียนแผนผังคำศัพท์บนกระดาน ครูคอยช่วยเหลือและตรวจสอบความถูกต้อง หลังจากตรวจสอบคำตอบแล้ว ให้นักเรียนทุกคนจดแผนผังคำศัพท์ทั้งหมดลงในสมุดของตนเอง

Classroom language:
 T: You must circle the two words in each box that are linked to the heading. When you finish task D, I will divide all of you into six groups. Each group has to make a word map using one of the headings in this task. You already have two words to start with. The group which lists the most and correct words will be the winner.

E       Complete the sentences with a form of the word in capitals. All the words are in the article.
- เพื่อช่วยให้นักเรียนทำกิจกรรมข้อ E ได้ง่ายขึ้น ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับคำศัพท์ที่เปลี่ยนรูปมาจากคำศัพท์คำอื่น (derivatives) ให้กับนักเรียนทั้งชั้น แล้วบอกให้นักเรียนฝึกทำแบบฝึกหัดบนกระดานดังนี้
      a. length (n)                  b. long (adj)
1. She had _____________ dark hair.
2. Did you see the _____ of his hair?
      a. surprising (adj)           b. surprise (n)
3. I have a _____ for you.
4. It is ______ that snow falls in Asian countries. 
ครูเฉลยคำตอบพร้อมกับนักเรียนทั้งชั้น (คำตอบ: 1. long 2. length 3. surprise 4. surprising) แล้วอธิบายเพิ่มเติมหากนักเรียนยังมีข้อสงสัย
-   ให้นักเรียนแต่ละคนอ่านประโยคข้อ 1 - 6 และคำศัพท์ท้ายประโยคแต่ละข้อจากกิจกรรมข้อ E แล้วเขียนคำศัพท์ใหม่จากคำศัพท์ที่กำหนดให้ลงในช่องว่างให้ได้ใจความสมบูรณ์และถูกต้อง ครูอาจแนะนำให้นักเรียนค้นหาคำตอบจากบทความในกิจกรรมข้อ B เพราะคำตอบทุกคำตอบจะปรากฏอยู่ในบทความ
- เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ครูสุ่มเรียกนักเรียนบางคนอ่านประโยคและคำตอบของตนเอง แล้วจึงตรวจคำตอบที่ถูกต้องพร้อมกับนักเรียนทั้งชั้น (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
                   Grammar Link
- ครูเขียนตัวอย่างประโยค active และ passive บนกระดานดังนี้
The dog chased the cat yesterday.
The cat was chased by the dog yesterday.
  แล้วซักถามนักเรียนทั้งชั้นว่า
T:  In the first sentence, what is the subject?
S:  The dog.
T:  What chased the cat?
S:  The dog.
T:  In the first sentence, the dog did the action to chase the cat. In the second sentence, what is the subject?
S:  The cat.
T:  Did the cat chase the dog?
S:  No. The dog chased the cat.
T:  So the dog chased the cat or the cat was chased by the dog. In the first sentence or active sentence, the subject does the action but in the second sentence or passive sentence the subject is done by the object.
- ให้นักเรียนทุกคนศึกษาหลักการใช้ประโยค passive และตัวอย่างประโยคจากกรอบ Grammar Link หน้า 20 แล้วตอบคำถามให้ถูกต้อง เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ครูขอนักเรียนอาสาสมัครอ่านประโยคคำถามและบอกคำตอบของตนเอง แล้วจึงเฉลยคำตอบที่ถูกต้องพร้อมกับนักเรียนทั้งชั้น (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
- ให้นักเรียนแต่ละคนอ่านโครงสร้างทางไวยากรณ์และตัวอย่างประโยคเพิ่มเติมในหัวข้อ Grammar Reference ข้อ 3.1 หน้า 110 ครูอธิบายประเด็นที่นักเรียนยังสงสัยพร้อมทั้งตอบคำถามของนักเรียน แล้วบอกให้นักเรียนแต่ละคนทำกิจกรรมข้อ F ด้วยตนเองต่อไป

         11.3  ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice)
F    Decide whether the following sentences are in the passive or active. Write P for passive or A for active next to each one.
- ครูทบทวนหลักการเปลี่ยนรูปกริยา active เป็นรูปกริยา passive ให้กับนักเรียนทั้งชั้นอีกครั้ง โดยพูดรูปกริยา active แล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกรูปกริยา passive ที่ถูกต้องดังนี้
T:  takes
S:  is taken
T:  took
S:  was taken
T:  has taken
S:  has been taken
T:  is taking
S:  is being taken
T:  will take
S:  will be taken
- ให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน สมมติให้นักเรียนคนหนึ่งสวมบทบาทเป็นครู ทำหน้าที่เลือกคำกริยาอย่างน้อย 10 คำ แล้วให้นักเรียนคนหนึ่งทำหน้าที่ตอบรูปกริยา active ที่ถูกต้อง ส่วนนักเรียนอีกคนหนึ่งทำหน้าที่ตอบรูปกริยา passive ที่ถูกต้อง และแลกเปลี่ยนบทบาทซึ่งกันและกัน นักเรียนคนใดในกลุ่มตอบรูปกริยาได้ถูกต้องมากที่สุดเป็นผู้ชนะ
- ก่อนทำกิจกรรมข้อ F ครูอาจให้นักเรียนทบทวนหลักการใช้ประโยค active และ passive ในหัวข้อ Grammar Reference ข้อ 3.1 หน้า 110 อีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนทุกคนเข้าใจหลักไวยากรณ์เรื่องนี้อย่างแท้จริง จากนั้นให้นักเรียนแต่ละคนตัดสินใจเลือกว่าประโยคใดในกิจกรรมข้อ F เป็นประโยค active และประโยคใดเป็นประโยค passive เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ครูสุ่มเรียกนักเรียนบางคนอ่านประโยคและบอกคำตอบของตนเอง พร้อมทั้งบอกเหตุผลที่เลือกคำตอบนั้น แล้วจึงเฉลยคำตอบที่ถูกต้องพร้อมกับนักเรียนทั้งชั้น (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
G   Write sentences 1-6 in the passive by using the word given in bold in each case.
- ครูทบทวนหลักการใช้ประโยค passive ให้กับนักเรียนทุกคนฟังอีกครั้ง แล้วบอกให้นักเรียนอ่านประโยคข้อ 1 - 6 ในกิจกรรมข้อ G และเขียนประโยคใหม่ให้อยู่ในรูปประโยค passive ที่ถูกต้องโดยใช้คำศัพท์ที่กำหนดให้ เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ครูตรวจคำตอบพร้อมกับนักเรียนทั้งชั้น (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
- ให้นักเรียนแต่ละคนแต่งประโยค passive คนละ 3 ประโยค แล้วออกมาเขียนประโยคที่ตนเองแต่งบนกระดาน ครูและนักเรียนทั้งชั้นช่วยกันตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องหากพบข้อผิดพลาด
                   Listening Link
H   Listen to parts of three different radio talk shows where the hosts are discussing something about the weather with guests. Match the topics, a-d, with dialogues 1-3. One topic will not be used.
- ก่อนฟังซีดีบันทึกเสียง ครูอธิบายให้นักเรียนทั้งชั้นฟังว่า นักเรียนจะได้ฟังการอภิปรายทางวิทยุระหว่างผู้ดำเนินรายการกับแขกรับเชิญเกี่ยวกับสภาพอากาศ 3 บทสนทนา และหลังจากที่ฟังซีดีบันทึกเสียงจบแล้ว .นักเรียนจะต้องจับคู่หัวข้อการอภิปรายข้อ a - d กับบทสนทนาที่ 1 - 3 ในกิจกรรมข้อ H ให้สัมพันธ์กัน ครูเตือนนักเรียนว่ามี 1 หัวข้อการอภิปรายที่ไม่ใช่คำตอบ พร้อมทั้งบอกนักเรียนว่ากิจกรรมจับคู่แบบหลายตัวเลือกลักษณะนี้ นักเรียนจะต้องฟังบทสนทนาทั้งหมดให้เข้าใจมากกว่าที่จะฟังเฉพาะรายละเอียด
- ครูเปิดซีดีบันทึกเสียงให้นักเรียนฟัง 2 ครั้ง โดยแนะนำให้นักเรียนพยายามจับคู่หัวข้อการอภิปรายกับบทสนทนาให้ครบระหว่างฟังซีดีบันทึกเสียงครั้งที่ 1 และตรวจสอบคำตอบของตนเองระหว่างฟังซีดีบันทึกเสียงครั้งที่ 2 เมื่อนักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียงครบ 2 ครั้งแล้ว ให้นักเรียนจับคู่เปรียบเทียบคำตอบ และถ้าคำตอบของนักเรียนไม่ตรงกัน ครูเปิดซีดีบันทึกเสียงครั้งที่ 3 เพื่อให้นักเรียนตรวจสอบคำตอบอีกครั้ง โดยครูหยุดซีดีบันทึกเสียงในตำแหน่งที่แสดงคำตอบ หลังจากนั้นครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้องพร้อมกับนักเรียนทั้งชั้น (ดูเฉลยคำตอบและ Audioscripts ท้ายเล่ม)


 
Classroom language:
 T: In this task you will be listening to dialogues, rather than just listening to individual speakers. You have to listen to parts of three different radio talk shows where the hosts are discussing something about the weather with guests. You have to concentrate on the general idea of what is being said rather than specific details. Match the topics a - d with dialogues 1 - 3. One topic will not be used.

                   Speaking Link
I     Imagine that there has been a flood warning, and you must make sure that you have everything you need in your house. Working with a partner, put these items in order with the most important thing first. Use the expressions in the ovals as well as the ones you learned in Unit 15 of Bridge 4.
-    ครูซักถามนักเรียนทั้งชั้นว่า นักเรียนรู้จักสัญญาณเตือนภัยน้ำท่วมหรือไม่ แล้วอธิบายให้นักเรียนฟังว่าในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมมักจะมีเสียงสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น เพื่อเตือนผู้ที่พักอาศัยในบริเวณนั้นให้ทราบว่าแม่น้ำหรือทะเลสาบที่อยู่ใกล้ๆ กำลังจะไหลเข้าท่วมพื้นที่บริเวณนั้น แต่บางพื้นที่จะใช้วิธีการประกาศเตือนภัยผ่านทางวิทยุหรือโทรทัศน์เมื่อมีฝนตกหนักและเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน เพื่อให้ประชาชนอพยพออกจากพื้นที่หรือย้ายไปอยู่บริเวณที่สูง
- จากนั้นให้นักเรียนอ่านและทำความเข้าใจคำสั่ง คำศัพท์ และสำนวนในกิจกรรมข้อ I แล้วครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า สมมตินักเรียนได้ยินประกาศเตือนภัยน้ำท่วมและต้องตระเตรียมสิ่งของที่จำเป็นให้พร้อมสำหรับสถานการณ์นี้ ให้นักเรียนจับคู่ผลัดกันพูดสนทนาถึงสิ่งของที่สำคัญและจำเป็นต้องเตรียม โดยเรียงลำดับสิ่งของ 5 อย่างที่กำหนดให้ในกิจกรรมข้อ I ตามความจำเป็นมากที่สุดไปยังความจำเป็นน้อยที่สุด และใช้สำนวนที่กำหนดให้ในการพูดสนทนา ครูอาจยกตัวอย่างคำตอบให้นักเรียนฟัง ตัวอย่างเช่น นักเรียนบางคนอาจจะมีความคิดเห็นว่า โทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่สุดที่จะต้องเตรียมเมื่อประสบภัยน้ำท่วมเพื่อแจ้งให้บุคคลอื่นทราบว่าตนเองสบายดีหรือต้องการความช่วยเหลือ หรือนักเรียนบางคนอาจมีความคิดเห็นว่า เทียนไขและไม้ขีดไฟเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่สุดที่จะต้องเตรียมเมื่อประสบภัยน้ำท่วมเพราะไฟฟ้ามักขัดข้องหรือดับ เป็นต้น
- เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมข้อ I เสร็จแล้ว ให้นักเรียนสลับคู่กับเพื่อนคู่อื่นผลัดกันพูดสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามหัวข้อเดิม หลังจากนั้นครูสุ่มเรียกนักเรียนบางคนออกมาพูดถึงสิ่งของที่จนเองคิดว่าจำเป็นต้องเตรียมมากที่สุดพร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ แล้วครูเขียนจำนวนนักเรียนที่เห็นด้วยกับคำตอบนั้นๆ บนกระดาน เพื่อดูว่าสิ่งของใดจำเป็นมากที่สุดตามความคิดของนักเรียนห้องนั้น ทั้งนี้คำตอบที่ได้จากนักเรียนไม่ถือว่าเป็นคำตอบที่ถูกหรือผิด เพราะนักเรียนแต่ละคนย่อมมีเหตุผลในการเลือกสิ่งของที่แตกต่างกัน
                   Grammar Link
- ครูเขียนตัวอย่างประโยคต่อไปนี้บนกระดาน
1.  This novel is interesting.
I am interested in this novel.
2.  It was a frightening film.
     I felt frightened when I watched that film.
แล้วซักถามนักเรียนทั้งชั้นว่า
T: What do adjectives that describe things, places, situations and people end with?
S: -ing.
T: What do adjectives that describe how someone feels end with?
S: -ed.
- ให้นักเรียนทุกคนศึกษาหลักการใช้คำคุณศัพท์ (adjectives) ที่ลงท้ายด้วย -ing และ -ed พร้อมทั้งตัวอย่างประโยคจากกรอบ Grammar Link หน้า 21 และอ่านโครงสร้างทางไวยากรณ์และตัวอย่างประโยคเพิ่มเติมในหัวข้อ Grammar Reference ข้อ 3.2 หน้า 110 ครูอธิบายประเด็นที่นักเรียนยังสงสัยพร้อมทั้งตอบคำถามของนักเรียน
- ให้นักเรียนแต่ละคนยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -ing และ -ed เพื่อตรวสอบความเข้าใจของนักเรียน แล้วบอกให้นักเรียนทำกิจกรรมข้อ J ด้วยตนเองต่อไป
J    Complete the sentences with the –ed or –ing form of the adjectives in capitals.
- ให้นักเรียนแต่ละคนเปลี่ยนคำกริยาที่กำหนดให้ในกิจกรรมข้อ J เป็นคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -ing หรือ -ed เติมลงในช่องว่างให้ได้ประโยคที่ถูกต้อง ครูสุ่มเรียกนักเรียนบางคนอ่านประโยคพร้อมคำตอบ แล้วจึงเฉลยคำตอบที่ถูกต้องพร้อมกับนักเรียนทั้งชั้น (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม)
- ให้นักเรียนแต่ละคนแต่งประโยคที่ใช้คำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -ing และ -ed รูปแบบละ 1 ประโยค แล้วออกมาเขียนประโยคที่ตนเองแต่งบนกระดาน ถ้าพบข้อผิดพลาด ครูและเพื่อนๆ ช่วยกันแก้ไขให้ถูกต้อง
                   Writing Link
K   We have already looked at writing a discursive composition in Unit 16 of Bridge 4. In this section we will look at how to write a discursive composition where you give your opinion about something. In this type of task you have to decide which opinion you agree with before you start writing. Read the task and the model. Then complete the outline. Some people believe that the weather can change our mood, while others think that the way we feel has nothing to do with the weather. Write a composition, giving your opinion on the subject.
- ให้นักเรียนทุกคนอ่านและทำความเข้าใจคำสั่งและเนื้อความในกิจกรรมข้อ K แล้วเติมแนวคิดของย่อหน้าที่ 2, 3 และ 4 ลงในช่องว่างให้สอดคล้องกับเนื้อความที่อ่าน ครูสุ่มเรียกนักเรียนบางคนอ่านคำตอบของตนเอง แล้วจึงเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง (ดูเฉลยคำตอบท้ายเล่ม) จากนั้นครูชี้ให้นักเรียนเห็นว่า กิจกรรมข้อ K ช่วยให้นักเรียนเข้าใจวิธีเรียงลำดับความคิดของตนเองก่อนเริ่มเขียนเรียงความได้อย่างไร

Classroom language:
 T: Read the task and the model. Then complete the outline. This task helps you see how to organize your ideas.


         11.4  ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ (Production)
L    Read the hints and then use the outline in task K to write a composition giving your opinion on the subject. (100-120 words)
- ให้นักเรียนทุกคนอ่านกรอบ Hints หน้า 22 และใช้แนวคิดจากโครงร่างเรียงความ (Composition Outline) ในกิจกรรมข้อ K เป็นแนวทางในการเขียนเรียงความแสดงความคิดเห็น ความยาวประมาณ 100 - 120 คำ ครูต้องแน่ใจว่า นักเรียนได้เขียนร่างความคิดของตนเองก่อนเขียนเรียงความ นักเรียนจำเป็นต้องทราบว่าการเรียงลำดับความคิดเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เนื้อความของเรียงความนั้นสมเหตุสมผล (ครูสามารถดูหัวข้อการเขียนเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ Composition Titles ท้ายเล่ม)

Classroom language:
 T: You should compile notes for the composition outline before writing. You need to see how important it is to organize your thought into a logical sequence. You have to look at the hints box before you write your own compositions Read the hints and then use the outline in task K to write a composition giving your opinion on the subject. (100-120 words)

Teaching Link
- บ่อยครั้งที่นักเรียนมักมองว่า การเขียนเรียงความเป็นเรื่องยาก วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนเอาชนะความยากนี้คือ ให้นักเรียนจับกลุ่มช่วยกันคิดเนื้อความของหัวข้อเรียงความที่จะเขียน วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิดที่น่าสนใจและความมั่นใจในการเขียนเรียงความมากขึ้น รวมทั้งช่วยให้นักเรียนสังเกตตนเองว่ามีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อนั้นมากเพียงใด พร้อมทั้งจดบันทึกว่านักเรียนต้องการความช่วยเหลือด้านคำศัพท์หรือสำนวนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นหรือไม่

         11.5  ขั้นสรุป (Wrap up)
                   - ครูอาจเลือกใช้ขั้นสรุปวิธีใดวิธีหนึ่งหรือทั้ง 2 วิธีดังนี้
                 วิธีที่ 1  ครูนำเสนอคำถามสำคัญบนกระดาน นำนักเรียนอ่านและทำความเข้าใจคำถาม
                      1)  นักเรียนช่วยกันตอบคำถามจากความเข้าใจและความทรงจำ
                 2)  นักเรียนเปิดหนังสือเรียนเพื่อศึกษาเพิ่มเติมและตรวจสอบความแม่นยำอีกครั้ง
                 3) ครูช่วยเสริม เพิ่มเติม และสรุป
                 4) นักเรียนบันทึกลงสมุดเป็นการบ้านเพื่อไว้อ้างอิงและทบทวนความรู้


                 วิธีที่ 2  ครูให้นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสิ่งที่ต้องรู้และปฏิบัติได้ลงสมุด พร้อมทั้งเขียน
                 คำศัพท์ใหม่ลงในสมุดจดคำศัพท์ของตนเอง ครูอาจทบทวนคำศัพท์และโครงสร้างทางไวยากรณ์
                 ที่นักเรียนเข้าใจยังไม่ชัดเจนก่อนเรียนบทต่อไป

  12. กิจกรรมเสนอแนะ  และข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับครู

         ให้นักเรียนทำกิจกรรมในหนังสือแบบฝึกหัด BRIDGE Workbook 5 Unit 3
       -  ให้นักเรียนฝึกการเขียนเพิ่มเติมโดยเลือกหัวข้อจาก Composition Exercises ดังนี้
(1) ครูพูดหัวข้อเรียงความให้นักเรียนทุกคนฟังดังนี้ ฝนตกหนักเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม ฝนตกน้อยก็เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่นกัน สถานการณ์ใดส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อมนุษย์มากที่สุดให้นักเรียนแต่ละคนเขียนเรียงความแสดงความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อหัวข้อข้างต้น (100-120 คำ)
(2) คนบางคนชอบฤดูร้อนมากที่สุด แต่บางคนกลับชอบฤดูหนาว นักเรียนชอบฤดูกาลใดมากกว่ากัน ให้นักเรียนเขียนเรียงความแสดงความคิดเห็น (100-120 คำ)
       -  ครูอาจให้นักเรียนทำโครงงานดังนี้
          Project Work: Weather Survey
- ให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ 4 คนช่วยกันรวบรวมข้อมูลสภาพอากาศในช่วง 1 สัปดาห์จากหนังสือพิมพ์ต่างประเทศหรือหนังสือพิมพ์ในประเทศ แล้วเปรียบเทียบสภาพอากาศในประเทศไทยกับสภาพอากาศของประเทศอื่นๆ 3 ประเทศในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก และจัดทำแผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม หรือแผนผังประเภทต่างๆ เพื่อแสดงความแตกต่างของสภาพอากาศ ตัวอย่างเช่น ปริมาณแสงอาทิตย์ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน เป็นต้น ครูอาจแสดงตัวอย่างแผนผังที่ครูเตรียมไว้ให้นักเรียนทั้งชั้นดู แล้วบอกให้นักเรียนเขียนย่อหน้า 1 ย่อหน้าอธิบายข้อมูลที่ได้รวบรวมมา พร้อมทั้งบอกนักเรียนว่าแผนผังและย่อหน้าที่นักเรียนแต่ละทีมเขียนจะได้ติดบนผนังภายในห้องเรียน
       Project Link
- โครงงานข้างต้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้นครูควรเน้นย้ำให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานนี้ด้วยตนเอง นักเรียนสามารถค้นคว้าข้อมูลภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยก็ได้ตามความถนัดของนักเรียน ครูควรอธิบายวิธีสร้างแผนผังแบบต่างๆ ที่ใช้กับโครงงานนี้ให้กับนักเรียนทั้งชั้น












  13. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

……………………………………………………………………………………………………………….……..…
…………………………………………………………………………………………………………………….…..
………………………………………………………………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………………………...
        
                                                                             ลงชื่อ.………………………………………………
                                                                                  (                                                     )
                                                                        ตำแหน่ง………………………………………………..

  14. บันทึกผลการจัดการเรียนรู้/ปัญหาอุปสรรค/ข้อเสนอแนะ/แนวทางการปรับปรุง

……………………………………………………………………………………………………………….……..…
…………………………………………………………………………………………………………………….…..
………………………………………………………………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………………………...

                                                                             ลงชื่อ.………………………………………………
                                                                                  (                                                     )
                                                                        ตำแหน่ง………………………………………………..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น